สร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำ สร้างสมัย ร.6
1. สร้างยุคสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2407 และะ พ.ศ.2408 อธิษฐานจิตโดยเจ้าพระคุณ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆัง
2. สร้างยุคสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2411 อธิษฐานจิตโดยสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง(หายากมากๆ พบเพียง 1 เส้น)
3. สร้างยุคสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2463 (สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังไม่ได้อธิษฐานจิต)
***ข้อแตกต่างสร้อยประคำเหล็กไหลสมัย ร.4 กับ ร.6
- สมัย ร. 4 อธิษฐานจิตโดยเจ้าพระคุณ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆัง สมัย ร. 6 สมเด็จฯโตไม่ได้อธิษฐานจิต
- สมัย ร. 4 นับลูกประคำได้ 110 ลูก(องค์) สมัย ร. 6 นับลูกประคำได้ 108 ลูก(องค์)
- สมัย ร. 4 ลูกประคำเหล็กไหลฯมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเม็ดประคำฯที่สร้าง สมัย ร. 6
- สมัย ร. 4 สร้อยประคำเหล็กไหลฯมีขนาดเส้นยาวกว่า สร้อยประคำฯที่สร้าง สมัย ร. 6 มากพอสมควร
คลิก...ลิงก์ เหล็กไหลไพลดำ...1
คลิก...ลิงก์ เหล็กไหลไพลดำ...2
รูปสร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำ ที่สร้างสมัย ร.6 พ.ศ. 2463 สมเด็จฯโต(วัดระฆัง) ไม่ได้อธิษฐานจิต สังเกตุภู่ที่ปลายจะมีเส้น 2 เส้น ด้ายรูปแบบนี้เป็นข้อบ่งชี้ของผู้สร้าง ระบุวาระการสร้างที่แตกต่าง ซึ่งจะมีความแตกต่างกับสร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำที่สร้างในสมัย ร.4
เหล็กไหลไพลดำ สร้างสมัย ร.6 |
1661002
รูปสร้อยประคำที่ตัดเชื่อกร้อยออกจะพบเห็นเชือกร้อยด้านในเป็นสีน้ำเงินดำเข้ม
สร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำนี้สร้างในสมัย ร.6 มีพลังพุทธานุภาพแรง แต่ยังด้อยกว่าสร้อย ประคำเหล็กไหลไพลดำนี้สร้างในสมัย ร.4 และอธิษฐานจิตปลุกเศกโดยสมเด็จฯโต ซึ่งในครั้งแรกผู้เขียนไม่ได้แนะนำให้เก็บ เพราะสร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำที่อธิษฐานจิตโดยสมเด็จโตมีมากพอสมควร และเด่นกว่ามากในเรื่องพลังพุทธคุณฯลฯ
ภายหลังสร้อยประคำฯที่สร้างสมัย ร.6 ที่ผู้เขียนไม่ได้แนะนำให้เก็บ แต่มีผู้รู้และไม่รู้ต่างเก็บออกไปจากตลาดจนหมด คนเหล่านี้ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นสร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำที่สร้างสมัย เจ้าพระคุณ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆัง เพราะจับพลังแล้วแรง
เมื่อมีคนเก็บกันมากจนแทบจะหาในตลาดไม่ได้ ผู้เขียนจึงขอกล่าวข้อมูลลึกๆให้ทราบว่า สร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำลักษณะอย่างนี้ หากกล่าวว่า
"เป็นสร้อยประคำเหล็กไหลไพลดำ ที่อธิษฐานจิตโดยปู่โต ย่อมเป็นของปลอม"
"ถ้าบอกว่าเป็นสร้อยประคำเหล็กไหลไพดำ ที่สร้างสมัย ร.6 เป็นของแท้แน่นอน" แต่พลังพุทธคุณฯต่างกัน
จะสามารถติดต่อสอบถามเรื่องเหล็กไหลที่สมเด็จโตท่านเสกไว้ทางไหนครับ
ตอบลบ